พิธีกงเต๊ก

Chinese Funeral

พิธีกงเต๊ก ของชาวจีนแต้จิ๋ว เป็นพิธีกรรมวัฒนธรรมจีนที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นสะพานความเชื่อที่เชื่อมโยงระหว่างชีวิตหลังความตาย เข้ากับวิถีชีวิตของคนเป็น ซึ่งไม่ใช่แต่แค่เฉพาะลูกหลาน แต่หมายรวมถึงหลากอาชีพที่เกี่ยวพันกับพิธีกรรมนี้ด้วย เรามาทำความรู้จักกับ “พิธีกงเต๊ก” กันค่ะ

ความหมายของคำว่า กงเต๊ก กง ซึ่งมีความหมายว่า การกระทำ เต๊ก มีความหมายว่า คุณธรรม เมื่อนำมารวมกันคือ การกระทำที่มีคุณธรรม ให้ความหมายโดยรวมว่า การแสดงความกตัญญูของลูกหลานออกมาเป็นพิธีอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ และการกระทำสะสมความดีของคนผู้นั้นเอง พิธีกงเต๊กนั้นจะจัดขึ้นเมื่อผู้เสียชีวิตมีอายุ 50 ปี และได้แต่งงาน มีบุตรแล้วเท่านั้น กงเต๊กถือเป็นพิธีการอุทิศส่วนกุศลและส่งดวงวิญญาณให้เดินทางไปยังสวรรค์ ซึ่งจะทำกันในวันที่ 6 หลังจากการสวดอภิธรรมศพตามพิธีของชาวพุทธทั่วไป งานกงเต๊กใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงกลางคืน ส่วนงานธรรมดาเริ่มตั้งแต่บ่าย 3 โมงถึงกลางคืน

กงเต๊ก เป็นพิธีกรรมที่ละเอียดอ่อน ซ่อนความหมายทุกขั้นตอน อีกทั้งรายละเอียดก็แตกต่างกันไปตามประเพณีของแต่ละมณฑล พิธีของชาวจีนแต้จิ๋วจะประกอบพิธีโดยคณะบุคลากรของพุทธแสงธรรมสมาคม โดยเราจะขอลำดับพิธีกรรมหลัก ๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายโดยรวมดังนี้

  1. สวดอัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์มาเป็นองค์ประธาน ณ พุทธสภา ที่แทนด้วยฉากผ้าปักสีแดง
  2. ส่งสารไปยมโลกด้วยม้าและนก (กระดาษ) เพื่อแจ้งข่าวการเสียชีวิตไปยังสวรรค์และปรโลก เป็นการบอกกล่าวขอเปิดทางให้ดวงวิญญาณได้เดินทางโดยสะดวก
  3. เชิญวิญญาณมาสถิตที่โคมไฟวิญญาณ (ถ่งฮ้วง – เชิญวิญญาณ) ซึ่งแขวนเสื้อของผู้เสียชีวิตไว้ แล้วเชิญให้อาบน้ำชำระดวงจิตที่ห้องน้ำ (หมกหยกเต๊ง – ศาลาแห่งความสะอาดบริสุทธิ์) เพื่อให้ดวงวิญญาณพร้อมสำหรับการฟังธรรม และรับของที่ลูกหลานเตรียมไว้ให้ ณ ปะรำพิธีซึ่งเป็นฉากผ้าปักสีน้ำเงิน
  4. แจ้งบรรพบุรุษให้รับรู้ว่าลูกหลานท่านเสียแล้ว ด้วยการจัดข้าวปลาอาหารเตรียมรอรับ ให้บรรพบุรุษมาเป็นพี่เลี้ยงในการเดินทาง ขั้นตอนนี้เป็นสัญลักษณ์สอนให้ลูกหลานรู้คุณต่อบรรพบุรุษ และทำตามสืบทอดกันต่อไป
  5. สวดอภิธรรมและสวดขอพรให้ดวงวิญญาณ
  6. พิธีวิ่งธง เป็นการรำลึกถึงต้นกำเนิดของพิธีกงเต๊กอันมีมาตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ซ่ง โดยจะวิ่งเป็นรูปยันต์ซึ่งพระอรหันต์จี้กงเขียนขึ้นเพื่อเรียกวิญญาณของพระนางฮีสีในยุคนั้น
  7. การเดินสะพาน เป็นสัญลักษณ์แทนการเดินทางไปสู่อีกภพหนึ่ง เพื่อไปขอเตี๊ยบ (หนังสือเดินทาง) จากพระพุทธองค์
  8. สวดส่งเทพ ส่งวิญญาณ และถวายเครื่องกระดาษ (ซึ่งจะเผาในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพิธีฌาปนกิจหรือพิธีฝัง ตามแต่ประเพณีของครอบครัวนั้น) ถึงตรงนี้ก็เป็นอันจบพิธีกงเต๊ก

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย

บ้านกงเต๊กครบชุด

พิธีเผาเครื่องกระดาษ โดยจะมีการเตรียมเครื่องกระดาษต่าง ๆ เช่น

  • บ้าน
  • หีบสมบัติ
  • ตั่วป้อ (เครื่องกระดาษ)

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย

ของไหว้วันกงเต๊ก

  • ซาแซ คือ ของคาว 3 อย่าง ประกอบด้วย ไก่, หมู, ปลาหมึก หรือใช้ปลาทูแทนได้ ** ห้ามใช้เป็ด
  • โหง่วก้วย (ผลไม้ 5 อย่าง) ประกอบด้วย กล้วย, แอปเปิ้ล, สับปะรด, องุ่น และส้ม (ไตกิก) ** ผลไม้ต้องห้ามคือมังคุด ละมุด ฝรั่ง เนื่องจากชื่อไม่เป็นมงคล
  • ฮกก้วย (ฮกก้วยแดง, ฮกก้วยขาว)
  • ฮกเปา (ซาลาเปา)
  • จื๋อซุงก้วย (ขนมหวาน)

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย

เต็งลั้ง (โคมอายุ)

  • เต็งลั้ง (โคมอายุ) เป็นโคมที่เขียนตัวเลขอายุของผู้เสียชีวิต จะมีตัวอักษรทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งการเขียนโคมอายุเรียกว่า “เหลาะแซ” การนับอายุของผู้เสียชีวิตนั้นจะนับเป็น 5 คือ แซ (เกิด), เหลา (แก่), แป่ (เจ็บ), ซี้ (ตาย) และโค่ โดยอายุที่จะมาทำโคมอายุจะต้องนับให้ลงที่แซหรือเหลาเท่านั้น และไม่ให้ลงเลข 66 (ถ้ามีลูก 1-3 คนสามารถบวกเพิ่มเป็น 67 ได้ แต่ถ้าหากมีลูกเยอะจริง ๆ  7-8 คนสามารถนำมาบวกอายุเพิ่มได้ถึง 71 ได้) ถ้าต้องการเขียนอายุบวกเยอะ ๆ 6-7 ปี สามารถนำจำนวนลูกมาบวกเพิ่มเพื่อเขียนอายุได้ แต่ถ้ามีลูก 1-2 คนไม่ควรนำมาบวกเพื่อเขียนเพิ่มเกินจากนั้น ตามประเพณีคนจีนจะนับอายุในท้องด้วย เมื่อนำอายุไปเขียนโคมก็จะเป็น อายุปัจจุบัน + 1
  • ฮกเต็ง (โคมลูกหลาน) จะมีจำนวนตามจำนวนลูก โดยนับรวมตั่วซุงด้วย (จำนวน 1 คน / 1 คู่)

ให้เราดูแลคุณ จนถึงวินาทีสุดท้าย

เหล่งโจ๊ย (ฉากหลัง)

  • เหล่งโจ๊ย หรือเรียกอีกอย่างว่า (ฉากหลัง) เป็นฉากที่ทางสมาคมจีนจะนำมาตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติโดยจะนำมาตั้งให้ตั้งแต่วันแรก แต่เหล่งโจ๊ยนั้นสามารถนำมาจัดตั้งเองได้เนื่องจากในปัจจุบันคนจีนส่วนใหญ่ไม่นิยมเข้าสมาคมจีน เหล่งโจ๊ยจะประกอบไปด้วยดอกซ่อนกลิ่นและผลไม้ 5 อย่าง

    • ฮวงแซจี๊ (ใบเบิกทาง)
    • กิมจั้ว (กระดาษทองเล็ก)
    • ตั่วกิม (กระดาษทองใหญ่)
    • แปะสื่อบ่อกี้ (ร้อยเรื่องราบรื่น) เป็นการนำกระดาษมาแปะบริเวณทางเข้าศาลา